วงล้อการเมืองเริ่มหมุน

 

ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง การสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตามราชกิจจานุเบกษา  เล่ม ๑๔๐ ตอนที่ ๒๓ ก  ลงวันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๖๖ หน้า 92 - 94 

ด้วยได้มีพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๖๖ และคณะกรรมการการเลือกตั้ง ได้กำหนดให้วันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ เป็นวันเลือกตั้ง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ มาตรา ๑๓ มาตรา ๑๔ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๕๗ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๖๑ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกอบข้อ ๘๗ ข้อ ๙๑ ข้อ ๑๐๑ ข้อ ๑๐๒ และข้อ ๑๐๙ ของระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๖๖ คณะกรรมการการเลือกตั้ง

จึงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง การสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ และการแจ้งรายชื่อบุคคลที่พรรคการเมือง มีมติจะเสนอสภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ดังนี้

๑. ผู้ใดจะสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งใด ให้ยื่นใบสมัครรับเลือกตั้งพร้อมทั้งหลักฐาน ดังนี้

(๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน

(๒) สำเนาทะเบียนบ้าน

(๓) ใบรับรองแพทย์

(๔) หนังสือรับรองการส่งผู้สมัครแบบแบ่งเขตเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมืองซึ่งต้องมีคำรับรองด้วยว่าได้ด าเนินการถูกต้องครบถ้วนตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองแล้ว

(๕) หลักฐานแสดงการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของปีภาษี ๒๕๖๓ ปีภาษี ๒๕๖๔ และปีภาษี ๒๕๖๕ ของผู้สมัคร เว้นแต่เป็นผู้ไม่ได้เสียภาษีเงินได้ ให้ท าหนังสือยืนยันการไม่ได้เสียภาษี พร้อมทั้งสาเหตุแห่งการไม่ได้เสียภาษี

(๖) รูปถ่ายหน้าตรงไม่สวมหมวกและไม่สวมแว่นตาด า ขนาดกว้างประมาณ ๘.๕ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๑๓.๕ เซนติเมตร จ านวนคนละ ๑๐ รูป

(๗) เงินค่าธรรมเนียมการสมัครคนละ ๑๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน)

(๘) เอกสารสรุปย่อประวัติของผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง

(๙) ผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ให้ยื่นหลักฐานประกอบการสมัครรับเลือกตั้งเพิ่มเติมอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้

(๙.๑) หลักฐานซึ่งแสดงว่ามีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้ง เป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า ๕ ปีนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง

(๙.๒) หลักฐานซึ่งแสดงว่าเป็นบุคคลซึ่งเกิดในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้ง

(๙.๓) หลักฐานซึ่งแสดงว่าเคยศึกษาในสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า ๕ ปีการศึกษา

(๙.๔) หลักฐานซึ่งแสดงว่าเคยรับราชการหรือปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐ หรือเคยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า ๕ ปี

ให้ยื่นใบสมัครพร้อมหลักฐานต่อผู้อ านวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้ง ตั้งแต่ วันที่ ๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๖ ถึงวันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๖ ระหว่างเวลา ๐๘.๓๐ นาฬิกา ถึงเวลา ๑๖.๓๐ นาฬิกา ณ สถานที่ที่ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจ าเขตเลือกตั้งกำหนด

๒. พรรคการเมืองใดส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งและผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งได้ออกใบรับใบสมัครรับเลือกตั้งแล้ว หากประสงค์จะส่งสมาชิกพรรคการเมืองสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ให้หัวหน้าพรรคการเมืองหรือกรรมการบริหารพรรคการเมืองผู้ได้รับมอบหมายเป็นหนังสือจากหัวหน้าพรรคการเมือง ยื่นบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อพร้อมทั้งหลักฐานประกอบการสมัครของผู้สมัครแต่ละคน ดังนี้

(๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน

(๒) สำเนาทะเบียนบ้าน

(๓) ใบรับรองแพทย์

(๔) หนังสือรับรองการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อของหัวหน้าพรรคการเมืองซึ่งต้องมีคำรับรองด้วยว่าได้ดำเนินการถูกต้องครบถ้วนตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองแล้ว

(5) หนังสือยินยอมให้เสนอชื่อสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ

(6) หลักฐานแสดงการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของปีภาษี ๒๕๖๓ ปีภาษี ๒๕๖๔ และปีภาษี ๒๕๖๕ ของผู้สมัคร เว้นแต่เป็นผู้ไม่ได้เสียภาษีเงินได้ ให้ท าหนังสือยืนยันการไม่ได้เสียภาษี พร้อมทั้งสาเหตุแห่งการไม่ได้เสียภาษี

(7) รูปถ่ายหน้าตรงไม่สวมหมวกและไม่สวมแว่นตาด า ขนาดกว้างประมาณ ๘.๕ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๑๓.๕ เซนติเมตร จ านวนคนละ ๑๐ รูป

(8) เงินค่าธรรมเนียมการสมัครคนละ ๑๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน) ให้ยื่นบัญชีรายชื่อผู้สมัครพร้อมหลักฐานต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งตั้งแต่วันที่ ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๖ ถึงวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๖ ระหว่างเวลา ๐๘.๓๐ นาฬิกา ถึงเวลา ๑๖.๓๐ นาฬิกา และวันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๖ ระหว่างเวลา ๐๘.๓๐ นาฬิกา ถึงเวลา ๑๖.๐๐ นาฬิกา ณ ห้องบางกอก อาคารไอราวัตพัฒนา ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร

อนึ่ง บุคคลใดจะสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ให้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งในนามของพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองเดียว และจะสมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งหรือแบบบัญชีรายชื่อแบบใดแบบหนึ่งได้เพียงแบบเดียว และสมัครรับเลือกตั้งได้เพียงเขตเดียว

๓. พรรคการเมืองที่ได้ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งและผู้อ านวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งได้ออกใบรับใบสมัครรับเลือกตั้งแล้ว หากประสงค์จะแจ้งรายชื่อบุคคลที่พรรคการเมืองมีมติจะเสนอสภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ให้แจ้งรายชื่อ พร้อมหนังสือแสดงความยินยอมของผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง ไม่เกิน ๓ รายชื่อ ตั้งแต่วันที่ ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๖ ถึงวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๖ ระหว่างเวลา ๐๘.๓๐ นาฬิกา ถึงเวลา ๑๖.๓๐ นาฬิกา และวันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๖ ระหว่างเวลา ๐๘.๓๐ นาฬิกา ถึงเวลา ๑๖.๐๐ นาฬิกา ณ ห้องบางกอก อาคารไอราวัตพัฒนา ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร

จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน

ประกาศ ณ วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖6 ลงชื่อ อิทธิพร บุญประคอง ประธานกรรมการการเลือกตั้ง

*****

คุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม และข้อห้ามของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 

ที่มา : https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/ewt_news.php?nid=10867&filename=index012

1. คุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (มาตรา 101)

         1.1 มีสัญชาติไทยโดยการเกิด

         1.2 มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบห้าปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง

         1.3 เป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่เพียงพรรคเดียวเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วันนับถึงวันเลือกตั้ง เว้นแต่ในกรณีที่มีการเลือกตั้งทั่วไปเพราะเหตุยุบสภา ต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่เพียงพรรคเดียวเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 30 วันนับถึงวันเลือกตั้ง

         1.4 ผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ต้องมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ด้วย

                  - มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งมาแล้วเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าห้าปีนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง

                  - เป็นบุคคลซึ่งเกิดในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้ง

                 - เคยศึกษาในสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าห้าปีการศึกษา

                  - เคยรับราชการหรือเคยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าห้าปี

         1.5 ผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบสัดส่วนต้องมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งตาม 1.4 ด้วย แต่ลักษณะดังกล่าวในกรณีใดที่กำหนดถึงจังหวัด ให้หมายถึงกลุ่มจังหวัด

2. ลักษณะต้องห้ามของผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (มาตรา 102)

         2.1 ติดยาเสพติดให้โทษ

         2.2 เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต

         2.3 เป็นบุคคลผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามมาตรา 100 (1) (2) หรือ (4)

         2.4 ต้องคำพิพากษาให้จำคุกและถูกคุมขังอยู่โยหมายของศาล

         2.5 เคยต้องคำพิพากษาให้จำคุกโดยได้พ้นโทษมายังไม่ถึงห้าปีในวันเลือกตั้ง เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

         2.6 เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ เพราะทุจริตต่อหน้าที่ หรือถือว่ากระทำการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ

         2.7 เคยต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน เพราะร่ำรวยผิดปกติหรือมีทัรพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ

         2.8 เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำนอกจากข้าราชการการเมือง

         2.9 เป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น

         2.10 เป็นสมาชิกวุฒิสภาหรือเคยเป็นสมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกภาพสิ้นสุดลงแล้วยังไม่เกินสองปี

         2.11 เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือเป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ

         2.12 เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดิน กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน หรือกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

         2.13 อยู่ในระหว่างต้องห้ามมิให้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามมาตรา 263

         2.14 เคยถูกวุฒิสภามีมติตามมาตรา 274 ให้ถอดถอนออกจากตำแหน่ง

3. ข้อห้ามของผู้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (มาตรา 265)

         3.1ไม่ดำรงตำแห่งหรือหน้าที่ใดในหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือตำแหน่งสมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น หรือข้าราชการส่วนท้องถิ่น

         3.2 ไม่รับหรือแทรกแซงหรือก้าวก่ายการเข้ารับสัมปทานจากรัฐ หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือเข้าเป็นคู่สัญญากับรัฐ หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจอันมีลักษณะเป็นการผูกขาดตัดตอน หรือเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่รับสัมปทานหรือเข้าเป็นคู่สัญญาในลักษณะดังกล่าว ทั้งนี้ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม

         3.3 ไม่รับเงินหรือประโยชน์ใด ๆ จากหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจเป็นพิเศษนอกเหนือไปจากที่หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ ปฏิบัติต่อบุคคลอื่น ๆในธุรกิจการงานตามปกติ

         3.4 ไม่กระทำการอันเป็นการต้องห้ามตามมาตรา 48

         บทบัญญัติมาตรานี้มิให้ใช้บังคับในกรณีที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภารับเบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ เงินปีพระบรมวงศานุวงศ์ หรือเงินอื่นใดในลักษณะเดียวกัน และมิให้ใช้บังคับในกรณีที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภารับหรือดำรงตำแหน่งกรรมาธิการของรัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร หรือวุฒิสภา หรือกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งในการบริหารราชการแผ่นดิน

         ให้นำความใน 3.1 3.3  และ 3.4 มาใช้บังคับกับคู่สมรสและบุตรของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา และบุคคลอื่นซึ่งมิใช่คู่สมรสและบุตรของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภานั้น ที่ดำเนินการในลักษณะผู้ถูกใช้ ผู้ร่วมดำเนินการ หรือผู้ได้รับมอบหมายจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาให้กระทำการตามมาตรานี้ด้วย


โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ผ่านไปอีก 1 ปี

จักรกลการเมือง