บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤศจิกายน, 2013

การเมืองใต้ตม

รูปภาพ
"ทรัพยากรในโลกเพียงพอที่จะหล่อเลี้ยงคนทั้งโลก  แต่  ไม่เพียงพอที่จะหล่อเลี้ยงคนที่มีความโลภเพียงคนเดียว....."  คำกล่าวของท่าน มหาตมะ คานธี หรือ โมหันทาส กะรัมจันท คานธี (Mohandas Karamchand Gandhi) ซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วง 2 ตุลาคม ค.ศ. 1869 - 30 มกราคม ค.ศ. 1948 ( อายุรวม 78 ปี) ถูกบันทึกเอาไว้อ้างอิงได้ในยุคสมัยต่อมาได้อย่างกลมกลืน มองเห็นได้ว่าเกิดขึ้นจริงด้วยสายตาของประชาชน อันเนื่องมาจากคำกล่าวเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็น สัจธรรม ที่ไม่มีใครปฏิเสธได้ แต่นักการเมืองทุกคนในปัจจุบันหลีกเลี่ยงที่จะมาเปิดอ่านหรือแม้แต่เพียงเหลือบแลมอง เนื่องมาจากทุกคนไม่สามารถยอมรับในความจริงที่ปรากฎ อันเป็นวิถีทางที่ปิดกั้นการแสวงหาผลประโยชน์ในทางการเมือง ซึ่งเป็นแนวทางปฏิบัติของนักการเมืองในสังคมยุคใหม่ที่ประกอบไปด้วย นายทุน นักธุรกิจ ผู้มีอิทธิพลและผู้ที่ก้าวเข้ามาเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ เพราะสังคมโลกในยุคใหม่ให้ความสำคัญกับการบริหารระบอบเศรษฐกิจของคณะรัฐบาลที่มีอำนาจใน การปกครองประเทศเพื่อเชื่อมโยงโลกทั้งโลกเข้ามาหลอมรวมกัน โดยสังคมโลกไม่ได้ให้ความสำคัญกับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน

อำนาจอธิปไตย

รูปภาพ
อำนาจอธิปไตย (อังกฤษ: sovereignty) หมายถึง อำนาจสูงสุดในการปกครองรัฐ ดังนั้น สิ่งอื่นใดจะมีอำนาจยิ่งกว่าหรือขัดต่ออำนาจอธิปไตยหาได้ไม่ อำนาจอธิปไตย ย่อมมีความแตกต่างกันไปในแต่ละระบอบการปกครอง ตัวอย่างเช่น ในระบอบประชาธิปไตย อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน กล่าวคือ ประชาชนคือผู้มีอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ อำนาจอธิปไตยเป็นของพระมหากษัตริย์ คือ กษัตริย์เป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศเป็นต้น อนึ่ง อำนาจอธิปไตยนี้ นับเป็นองค์ประกอบสำคัญที่สุดของความเป็นรัฐ เพราะการจะเป็นรัฐได้นั้น นอกจากต้องประกอบด้วย อาณาเขต ประชากร และรัฐบาลแล้ว ย่อมต้องมีอำนาจอธิปไตยด้วย กล่าวคือ ประเทศนั้นต้องเป็นประเทศที่สามารถมีอำนาจสูงสุด (อำนาจอธิปไตย) ในการปกครองตนเอง จึงจะสามารถเรียกว่า "รัฐ" ได้ สำหรับราชอาณาจักรไทย ใช้การปกครองระบอบประชาธิปไตย ดังนั้น อำนาจอธิปไตยจึงเป็นของประชาชน อำนาจอธิปไตยนั้น โดยหลักสากล แต่ละรัฐจะมีองค์กรที่ใช้อำนาจอธิปไตยอยู่ 3 องค์กร ได้แก่  อำนาจบริหาร  อำนาจนิติบัญญัติ และ อำนาจตุลาการ แนวคิดอำนาจอธิปไตย ในสารานุกรมบริเตนนิกา

ขอไว้อาลัย

รูปภาพ
การพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ฉบับเจ้าปัญหากำลังสร้างความวุ่นวายให้เกิดขึ้นในบ้านเมืองอย่างไม่ผิดไปจากความคาดหมายของหลายๆ ฝ่าย การชุมนุมคัดค้านเริ่มยกระดับความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นเมื่อเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย เครือข่ายภาคประชาชน 77 จังหวัด  และ ฯลฯ จากสวนลุมพินีออกเดินทางไปร่วมสมทบกับกองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณที่เวทีอุรุพงษ์ เมื่อ 3 พ.ย.56 ในช่วงใกล้ค่ำโดยไม่ทันที่ฝ่ายตั้งรับจะทันได้ตั้งตัวเตรียมแผนต้อนรับ ในขณะที่เวทีพรรคประชาธิปัตย์ที่สามเสน ก็ยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่องโดยมีจำนวนประชาชนเพิ่มมากขึ้นทุกเวลา และยังมีเวทีคัดค้านที่จัดตั้งในต่างจังหวัดอีกหลายๆ จังหวัดพร้อมๆ กัน ยังไม่นับรวมไปถึง สถาบัน  องค์กรต่างๆ  บรรดานักวิชาการ คณาจารย์ นิสิตนักศึกษา นักเรียน แทบจะทุกระดับการศึกษา พ่อค้า แม่ค้า และคนแทบทุกวงการอาชีพต่างก็ออกมาแสดงความไม่เห็นด้วยอย่างเปิดเผย แต่ความขัดแย้งเหล่านี้กลับไม่ได้สร้างความสะดุ้งสะเทือนให้กับ ส.ส.ฝ่ายรัฐบาลเพียง 310 คนที่มีมติผ่านร่างวาระที่ 3 ในเวลา ตี 4 เป็นการทำงานกันแบบทุ่มเทผิดวิสัยของความชอบธรรม แต่กลับเป็นการกระทำเหมือนกับโจรใน