ผู้แทนของเรา



รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 122 บัญญัติว่า

 "สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาย่อมเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทยโดยไม่อยู่ในความผูกมัดแห่งอาณัติ มอบหมาย หรือความครอบงำใดๆ และต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของปวงชนชาวไทย โดยปราศจากการขัดกันแห่งผลประโยชน์"




มาตรา ๒๙๑ ของ รัฐธรรมนูญ แห่ง ราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๐
การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ให้กระทำได้ ตาม หลักเกณฑ์ และ วิธีการ ดังต่อไปนี้
(๑) ญัตติ ขอแก้ไขเพิ่มเติม ต้อง มาจาก คณะรัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร มีจำนวน ไม่น้อยกว่า หนึ่งในห้า ของ จำนวนสมาชิก ทั้งหมด เท่าที่มีอยู่ ของ สภาผู้แทนราษฎร หรือ จาก สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และ สมาชิกวุฒิสภา มีจำนวน ไม่น้อยกว่า หนึ่งในห้า ของ จำนวนสมาชิก ทั้งหมด เท่าที่มีอยู่ ของ ทั้งสองสภา หรือ จาก ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จำนวน ไม่น้อยกว่า ห้าหมื่นคน ตาม กฎหมาย ว่าด้วย การเข้าชื่อเสนอกฎหมาย
ญัตติ ขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ที่มีผลเป็น การเปลี่ยนแปลง การปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมี พระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข หรือ เปลี่ยนแปลง รูปของรัฐ จะเสนอ มิได้
(๒) ญัตติ ขอแก้ไขเพิ่มเติม ต้อง เสนอเป็น ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม และให้ รัฐสภา พิจารณา เป็น สามวาระ
(๓) การออกเสียงลงคะแนน ในวาระที่หนึ่ง ขั้นรับหลักการ ให้ใช้วิธี เรียกชื่อ และ ลงคะแนน โดยเปิดเผย และ ต้องมี คะแนนเสียง เห็นชอบด้วย ในการแก้ไขเพิ่มเติม นั้น ไม่น้อยกว่า กึ่งหนึ่ง ของ จำนวนสมาชิก ทั้งหมด เท่าที่มีอยู่ ของ ทั้งสองสภา
(๔) การพิจารณา ในวาระที่สอง ขั้นพิจารณาเรียงลำดับมาตรา ต้อง จัดให้มี การรับฟังความคิดเห็น จาก ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ที่เข้าชื่อเสนอ ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ด้วย
การออกเสียงลงคะแนน ในวาระที่สอง ขั้นพิจารณาเรียงลำดับมาตรา ให้ถือเอา เสียงข้างมาก เป็นประมาณ
(๕) เมื่อ การพิจารณาวาระที่สอง เสร็จสิ้นแล้ว ให้รอไว้ สิบห้าวัน เมื่อ พ้นกำหนดนี้แล้ว ให้ รัฐสภา พิจารณา ในวาระที่สาม ต่อไป
(๖) การออกเสียงลงคะแนน ในวาระที่สาม ขั้นสุดท้าย ให้ใช้วิธี เรียกชื่อ และ ลงคะแนน โดยเปิดเผย และ ต้อง มีคะแนนเสียง เห็นชอบด้วย ในการที่จะให้ออกใช้ เป็น รัฐธรรมนูญ มากกว่า กึ่งหนึ่ง ของ จำนวนสมาชิก ทั้งหมด เท่าที่มีอยู่ ของ ทั้งสองสภา
(๗) เมื่อ การลงมติได้เป็นไป ตาม ที่กล่าวแล้ว ให้นำ ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อม ถวาย และ ให้นำ บทบัญญัติ มาตรา ๑๕๐ และ มาตรา ๑๕๑ มาใช้บังคับ โดยอนุโลม




พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ. ๒๕๕๒

มาตรา ๙ การออกเสียงที่จะถือว่ามีข้อยุติในเรื่องที่จัดทำประชามติต้องมีผู้มาออกเสียงเป็นจำนวนเสียงข้างมากของผู้มีสิทธิออกเสียงและมีจำนวนเสียงเกินกว่ากึ่งหนึ่งของผู้มาออกเสียงในเรื่องที่จัดทำประชามตินั้น
การออกเสียงเพื่อให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรี ให้ถือเสียงข้างมากของผู้มาออกเสียงในการให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบในเรื่องที่จัดทำประชามติ
การออกเสียงตามที่มีกฎหมายบัญญัติตามมาตรา ๑๖๕ (๒) ของรัฐธรรมนูญให้ถือจำนวนคะแนนเสียงตามที่กฎหมายนั้นบัญญัติ แต่ถ้ากฎหมายดังกล่าวมิได้บัญญัติจำนวนคะแนนเสียงไว้ให้นำความในวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง แล้วแต่กรณี มาใช้บังคับโดยอนุโลม

มาตรา ๑๐ เมื่อมีประกาศให้มีการออกเสียงตามมาตรา ๕ ให้หน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบในเรื่องที่จะจัดทำประชามติต้องดำเนินการให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่จะจัดทำประชามติแก่ผู้มีสิทธิออกเสียงได้รับทราบอย่างเพียงพอ
 .... ...(๕) ประโยชน์ได้เสียที่อาจเกิดขึ้นกับประเทศชาติ ท้องถิ่นหรือประชาชน รวมทั้งมาตรการป้องกัน แก้ไข หรือเยียวยาความเดือดร้อนหรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินการพร้อมสรุปเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียด้วย .................



ก็คงอีกไม่นานเราก็จะได้มีโอกาสลงประชามติกันอีกครั้ง ในญัตติการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 ซึ่งยังคงไม่แน่ชัดว่าจะทำการแก้ไขใหม่หมดทั้งฉบับ หรือแก้ไขเฉพาะบางมาตรา

และอย่าแปลกใจหากท่านจะพบว่าชาวบ้านบางคนแม้จะไม่เคยอ่านรัฐธรรมนูญฉบับใดๆ ในโลกมาสักบรรทัด และบางคนก็อ่านหนังสือไทยไม่ออกด้วยซ้ำไป

แต่เขาเหล่านั้นมีความแน่วแน่ในอุดมการณ์ที่จะต้องลงประชามติให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ เพื่อคืนสิทธิ เสรีภาพและความเสมอภาคให้กับปวงชนชาวไทย

เมื่อได้ยินข่าวแล้วก็รู้สึกซาบซึ้งจนน้ำตาไหล ... ด้วยความสงสารประเทศไทย

อันที่จริงแล้ว ผู้ที่ต้องรับบทหนักในงานประเภทนี้ควรจะเป็นผู้แทนราษฎรที่เราท่านพากันเลือกเข้าไปทำหน้าที่แทน ว่าพวกท่านกำลังทำอะไรกันอยู่ ภารกิจที่สมควรกระทำตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ แต่ไม่เคยคิดจะทำ แต่กลับมามุ่งหน้ากระทำแต่ในเรื่องที่สร้างความขัดแย้งให้เกิดขึ้นในสังคม มุ่งหน้ากระทำแต่ในเรื่องที่เกิดประโยชน์ต่อบุคคลบางคน หรือบุคคลบางกลุ่ม มากกว่าจะเห็นคุณค่าของการกระทำเพื่อประเทศชาติและประชาชนอย่างแท้จริง

ไม่ต้องห่วง ... สำหรับเงิน 2 พันล้านบาทของประชาชนในการทำประชามติครั้งนี้ เพราะเป็นเงินภาษีของประชาชนอยู่แล้ว (ไม่ใช่ของพวกที่อวดร่ำรวย แต่กลับหลบเลี่ยงภาษีทุกรูปแบบ) แต่สิ่งที่ควรคำนึงก็คือ ท่านเห็นว่าปัญหาของรัฐธรรมนูญมันเกิดจากอะไร?

ตอบแทนได้เลยครับ
ปัญหามันเกิดมาจาก นักการเมือง

ผมเองเกิดมาตั้งแต่สมัยทรราชย์ครองเมือง ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมมาอย่างราบรื่น  ..แม้จะมีการแก้ไข ล้มล้างรัฐธรรมนูญมาหลายครั้ง....

ในวัยเด็ก ทุกวัน ผมตื่นแต่เช้า กินข้าว  ไปโรงเรียน กลับมาวิ่งเล่นตอนเย็น กินข้าว พอมืดก็เข้านอน
ในวัยทำงาน ผมตื่นแต่เช้า กินข้าว ไปทำงาน กลับมาวิ่งออกกำลังกายตอนเย็นแล้วก็กินเหล้า กินข้าว พอมืดก็เข้านอน

ผมไม่เคยมีปัญหากับข้อกฎหมายในรัฐธรรมนูญฉบับใดทั้งสิ้น

ปัญหา ? มันเกิดขึ้นเฉพาะกับนักการเมืองไม่กี่คนเท่านั้นเอง

การปฏิวัติ การยึดอำนาจ การคอรัปชั่นโกงกิน การใช้อำนาจในทางที่ผิด ความอยุติธรรม การโกหกพกลม การแสวงหาผลประโยชน์ ทุกอย่างเป็นสาเหตุมาจากเรื่องทางการเมือง

ความพินาศของบ้านเมืองทุกครั้งก็เป็นเรื่องทางการเมือง
ที่ใช้ประชาชนเป็นตัวประกัน

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ผ่านไปอีก 1 ปี

วงล้อการเมืองเริ่มหมุน

จักรกลการเมือง